28 เม.ย. 2563

1 เม.ย. 2563

แนะนำหนังสือพระราชนิพนธ์

    หนังสือพระราชพิพนธ์ ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ลาวใกล้บ้าน

  "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" มิตรประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดทางขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และภาษากับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงให้ความสนพระราชหฤทัย และได้เสด็จฯ เยือนหลายครั้ง "ลาวใกล้บ้าน" เล่มนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จฯเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวระหว่างวันที่28 ตุลาคม 2537 ถึง 1 พฤศจิกายน 2537 นับเป็นพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 29 ใน ชุดเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ **อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***


เยือนถิ่นอินเดียแดง
  "เยือนถิ่นอินเดียนแดง" เล่มนี้ เป็นชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ลำดับที่ 22 ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2535 ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งรวมสรรพวิทยาและเทคโนโลยีอันทันสมัย จนได้ชื่อว่าเป็นประเทศมหาอำนาจที่สำคัญของโลก ซึ่งแน่นอนว่าในพระราชนิพนธ์เล่มนี้ย่อมจะเต็มไปด้วยสารประโยชน์และความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจ และด้วยพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลินเสมือนหนึ่งได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปสหรัฐอเมริกาด้วยตัวเองเลยทีเดียว **อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***

           “ไอรักคืออะไร? เป็นพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๙ ในชุด การเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ที่ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบันทึกเรื่องราวการเสด็จฯเยือนสาธารณรัประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย ระหว่างวันที่ ๓ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๕ **อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***

       “ ลาวเหนือเมื่อปลายหนาว” พระราชนิพนธ์ลำดับที่ 40 31 ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชนิพนธ์บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม พุทธศักราช 2540 ในการนี้ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริ สถานศึกษาและสถานที่สำคัญต่างๆ ในกำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองหล้า แขวงอุดมไซ และแขวงหลวง       น้ำทา**อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***


          "ใต้เมฆที่เมฆใต้" เล่มนี้ เป็นชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ลำดับที่ 31 ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ.2538 การเสด็จฯ ครั้งนั้น นอกจากจะได้ทอดพระเนตรสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แล้ว ยังได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมสถาบันทางวิชาการที่น่าสนใจด้วยเช่น พิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนานโรงงานผลิตยานครคุนหมิงมหาวิทยาลัยยูนนานสวนพฤกษาศาสตร์สมุนไพรสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนาฯลฯซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้อันสำคัญผู้อ่านที่ได้ติดตามพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จเยือนต่างประเทศด้วยความสนใจในเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ **อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***


  พระอารมณ์ของขันสมเด็จพระเทพฯ
                  หนังสือเล่มนี้ วิลาศ มณีวัต นักเขียนชื่อดังซึ่งเป็นที่รู้จักของนักอ่านทั่วๆไป ทั้งเป็นผู้มีอารมณ์ดีเป็นเลิศ ได้คอยเฝ้าติดตามพระกรณียกิจของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไม่ว่าในเอกสารที่เป็นพระราชดำรัสในงานต่างๆ หรือกรณีทรงสัมภาษณ์และข้อซักถามจากสื่อมวลชน ซึ่งแทรกไปด้วยพระอารมณ์ขันอันน่ารู้และน่าสนใจ อาทิ เดินตามรอยเท้าพ่อ อารมณ์ขันของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เข้าจุฬาฯ ชั่วโมงแรกก็เจอดี ทรงโปรดช้าง ทรงลอดซุ้มมหาวิบากวันรับน้องใหม่ สมุดบันทึกช่วยจำ นักเขียนคนโปรด เมื่อยักษ์หลงรักลูกสาวเมืองบาดาล ฯลฯ **อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***

หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า

           หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า ของ "หวังอันอี้" สะท้อนภาพชีวิตในหมู่บ้านชนบทของจีนต้นทศวรรษ 1960 ในระบบคอมมูนประชาชน จนกระทั่งเข้าสู่สังคมนิยมที่ทันสมัยในศตวรรษ 1980 ผู้อ่านจะได้สัมผัสความรักอันบริสุทธิ์ของผู้เป็นแม่ ความกล้าหาญของเด็กน้อยผู้กลายเป็นวีรชนของหมู่บ้าน ได้รู้สึกสะเทือนใจกับรักต้องห้ามของเด็กสาว และความคับแค้นขมขื่นของผู้ที่ถูกสังคมลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม ***อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***

หยกใสร่ายคำ
           หยกใสร่ายคำ เป็นรวมบทกวีจีนแปลไทยจากหลากหลายราชวงศ์ของจีน จำนวน 34 บท บทที่เก่าที่สุดคือแต่งเมื่อ 1600 ปีก่อน สำหรับกวีในเล่มนี้ ได้แก่ หลี่ไป๋ เมิ่งเฮ่าหราน เถายวนหมิง ไป๋จวีอี้ ตู้มู่ หลี่ชิงเจ้า เป็นต้นโดยที่มาของบทกวีจีนแปลไทยเล่มนี้เกิดจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เวลาเสด็จไปเยือนที่ต่างๆ แล้วเจอบทกวีจีนที่ทรงโปรดก็จะบันทึกไว้ แล้วนำมาทดลองแปลไทยเก็บเอาไว้เรื่อยมาจนมีกว่า 100 บท ทางภาควิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    ทูลขอพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนดังกล่าวมาคัดเลือกเพื่อทำตำรา โดยลงบทกลอนภาษาจีนดั้งเดิม ตัวกำกับเสียงแบบพินอิน บทแปลภาษาไทย และคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นจำนวน 34 บท ในเล่มจะมีภาพวาดจีนโบราณมาประกอบในแต่ละบท ***อ่านเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง***