1 มี.ค. 2558

ภูมิปัญญาการทำข้าวควบ



ความเป็นมา / ความสำคัญของภูมิปัญญา
 “ ข้าวควบ  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ..  2542ได้ให้ความหมายไว้ว่า   ข้าวเกรียบใส่น้ำตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว ข้าวควบ เป็นอาหารว่างที่นิยมรับประทานกันมาก ลักษณะคล้ายขนมทองม้วน รสหวานกรอบ แต่พองและแผ่นใหญ่กว่า
ส่วนประกอบ / เครื่องปรุ่ง
1. ข้าวเหนียว               2        ลิตร      
2. น้ำอ้อย               300    กรัม                     
3. น้ำตาลปิ๊ป              500    กรัม                                           
4.ใบตอง
5. ไข่                    3   ฟอง
6. ไม้กลม
7. น้ำมัน
8.  น้ำ

อุปกรณ์
                ครกมอง (ครกกระเดื่อง) ไม้กลมนวดแป้ง หญ้าคาที่เป็นตับ ไม้ไผ่มือเสือ ตะกร้าสานใบใหญ่ แผ่นไม้กระดานนวดแป้ง
วิธีทำ 
1. นำข้าวเหนียวแช่น้ำ ไว้ประมาณ 6 – 10 ชั่วโมง แล้วนำมานึ่งให้สุก
 2.นำไปตำในมอง (ครกกระเดื่อง) ให้เมล็ดข้าวแตกละเอียด จนมีลักษณะเหมือนแป้งขนมเทียนสุก
3.  ผสมไข่ น้ำอ้อย น้ำตาลปิ๊บ  ลงตำในครก  ระหว่างที่ตำแป้งให้ใช้มือคนในครกแป้ง และผสมน้ำลงไปพอประมาณ เพื่อให้แป้งเหนียว จนได้ที่แล้วปั้นเป็นก้อน ขนานเท่าลูกมะนาว

4.  ใช้น้ำมันหมูทาแผ่นไม้กระดาน หรือใบตอง ( อาจใช้พลาสติกแทนได้ )ใช้ไม้กลมคลึงก้อนแป้งให้เป็นแผ่นบาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 - 8 นิ้ว ใช้ไข่ขาวทาแผ่นแป้งทั้ง 2 หน้า
5.  นำวางบนหญ้าคาที่เตรียมไว้ ตากแดดหรือลมให้แห้ง ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ในระหว่างที่ตากแผ่นแป้งให้พลิกเพื่อกลับด้าน แล้วเก็บเรียงซ้อนกัน
6.  นำไปผิงไฟโดยวางลงบนไม้ไผ่มือเสือ ใช้ไฟอ่อน ข้าวควบจะพองขยายใหญ่ ผิงไฟให้เหลือง นำใส่ในตะกร้าไม้ไผ่สานที่เตรียมไว้ ควรรองด้วยผ้าพลาสติกแผ่นใหญ่คลุมกันถูกลม หรืออาจนำไปทอดกับน้ำมันร้อน เพื่อนำมารับประทาน หรือเป็นของว่าง

ประโยชน์ของภูมิปัญญา
          ข้าวควบ ยังมีอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอำเภอเชียงกลาง เป็นอาหารว่างที่มีราคาไม่แพง และปลอดจากสารพิษ เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น