2 มี.ค. 2558

ภูมิปัญญาการทำข้าวแคบ

 ความสำคัญของภูมิปัญญา    


"ข้าวแคบ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..  2542  ได้ให้ความหมายไว้ว่า
คือ "ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือที่เข้าใจกันดี แต่คนท้องถิ่นอื่นอาจไม่คุ้นเคยว่า ข้าวแคบ คืออะไร แต่เมื่ออธิบายต่อไปว่าคือ ข้าวเกรียบธรรมดา เป็นของกินชนิดหนึ่งที่ทำด้วย หรือข้าวเหนียว เป็นแผ่นตากให้แห้ง

วิธีทำ / ส่วนผสม
            1. น้ำ                           1  ลิตร
            2. เกลือป่น                     1  ช้อนชา   
            3. งาดำ                          1  ถ้วยตวง        
            4. แป้งข้าวจ้าว    100   กรัม
            5.แป้งข้าวเหนียวก.ก.
  ขั้นตอนการทำ
           1 . นำแป้งข้าวเหนียว , แป้งข้าวจ้าว ผสม เกลือ, คลุกให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำลงไปผสมให้เข้ากัน
            2. นำมากรองในกระชอนเพื่อไม่ให้แป้งติดกันเป็นก้อน แล้วโรยงาดำลงไป
            3. ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดโดยใช้ผ้ากลึงไว้ด้านบน จากนั้นตักส่วนผสมใส่บนผ้าที่กลึงไว้ซึ่งจะตักใส่ ประมาณ 1 ทัพพี แล้วเกลี่ยให้เป็นรูปวงกลมให้ทั่วแผ่น
          4. จากนั้นรอให้สุก (สังเกตโดยแป้งจะออกสีใสๆ และบริเวณขอบรอบๆจะโก่งขึ้นมา) ก็ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นแผ่นบางๆ ตักเอาแผ่นแป้งออก แล้วนำมาวางบน คา  ( หญ้าคาตากแห้งที่เอามาไพ หรือ ถัก ใช้สำหรับมุงหลังคา )  ที่เตรียมไว้จนเต็มก่อนนำไปตากแดด
            5 . เมื่อตากแดดจนแห้งก็นำมาเก็บใส่ถุงไว้ เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำมาทอดหรือย่างไฟอ่อนๆได้เลย  การย่าง หรือ การฮิงข้าวแคบ คือการนำเอาข้าวแคบไปปิ้งหรือย่างไฟ  ส่วน การทอด ภาษาท้องถิ่นมักเรียกว่า    การจืนข้าวแคบ ก็จะได้ข้าวแคบที่มีรสชาติแตกต่างกันไป
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
                    ข้าวแคบ เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้ เป็นอาหารว่างที่มีราคาไม่แพง และปลอดสารพิษ ทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน 
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น