23 มี.ค. 2558

ตำนานขนมครก นิทานอาเซียน ประเทศไทย


อากาศร้อน ชวนหนอนอ่านหนังสือ

       ปิดเทอมของหนอนน้อยก็คือการอ่าน วันนี้ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลางมีเรื่องราวศิลปะไทย ความมุ่งมั่นของสาวน้อยคนเก่ง มาฝากกัน 


          วัยใสหัวใจโขน สารคดีเยาวชนชนะ เลิศรางวัลแว่นแก้ว ประจำปี 2554 กับเรื่องราวของเพื่อนรักระหว่างนายปกป้องและนางสาวน้ำใส เมื่อหนุ่มจอมทะเล้นดันไปสัญญาว่าจะเล่าเรื่องโขนให้ฟัง ทั้งที่ตัวเองแอบเคลิ้มหลับ ในชั่วโมงนาฏศิลป์ตลอด แต่เพื่อไม่ให้เสียคำพูดหนุ่มปกป้องจึงต้องค้นตำรามาเล่าสู่กันฟัง ตั้งแต่ที่มาของโขน นาฏศิลป์ชั้นสูงที่กำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน รามเกียรติ์กับโขน ศิลปะโขนแบบไฟฟ์ อิน วัน เครื่องแต่งกายโขน และปี่พาทย์ที่ขาดไม่ได้ ครัวโขนคืออะไร แล้วนายโขน นางโขน หมายถึงใคร และมารยาทในการดูโขน สนใจเรื่องราวศิลปะไทย หาอ่านได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลางจ้า

7 มี.ค. 2558

มอบหนังสือแทนสื่อแห่งความรัก


มอบหนังสือแทนสื่อแห่งความรัก   ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง  ขอขอบคุณผู้ใช้บริการและสมาชิกห้องสมุดที่  มอบหนังสือ สนับสนุน และส่งเสริมการอ่านให้ชุมชน  เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดังนี้


1.    คุณสมคิด  เมืองแก่น และคุณประจิน  เมืองแก่น  บ้านสบกอน 2  ต.เชียงกลาง   บริจาคหนังสือ นวนิยายไทย และนวนิยายจีน (กำลังภายใน)   จำนวน  ๔๓  ชื่อเรื่อง  ๔๙ เล่ม


2.  คุณแพรวนภา  ขันทะสีมา บ้านเหล่า ต.พระพุทธบาท อ.เชียงกลาง บริจาคหนังสือ นวนิยายไทย  จำนวน ๑๐  เรื่อง


3.   ตัวแทนบริษัทนิ่มซี่เส็ง สาขาเชียงกลาง  มอบวารสาร ฉบับเดือนกุมภาพันธ์  2558
ขอขอบคุณทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมส่งเสริมการอ่านให้กับชุมชนอย่างดียิ่ง

2 มี.ค. 2558

"สิเนหามนตาแห่งลานนา"



                        "สิเนหามนตาแห่งลานนา"  นิยายอิงตำนานลานนาตะวันออก  ประพันธ์โดย นายบัณฑูร ล่ำซำ จินตนิยายรักแห่งเมืองน่าน แบ่งออกเป็นสองภาค คือ ภาคแจ้ง ที่เป็นปัจจุบัน และ ภาคเงา ที่เป็นอดีตเมื่อ 600-700 ปีก่อน สลับกันไปทุกฉาก เป็นนิยายรักแห่งการพลัดพราก ไม่ใช่ชิงรักหักสวาท โดยนางเอก นางพระญาแม่ท้าวคำปิน ชายา พระญาเก่าเกื่อน แห่ง ราชวงศ์พูคา ราชวงศ์แรกของ อาณาจักรน่าน กลับชาติมาเกิดในปัจจุบัน และเดินทางไปเที่ยวจังหวัดน่านเป็นเวลา 7 วัน แค่โครงเรื่อง ก็ชวนให้สนใจติดตามเสียแล้ว  คุณบัณฑูร ได้สอดแทรกแนวคิด การปกครอง การบริหาร การจัดการเรื่องน้ำ ทรัพยากร ไปจนถึงเรื่อง การเมือง  ติดตามอ่านได้ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลางคะ  

นิทานหรรษา


นิทานกระต่ายกับเต่าภาษาอังกฤษ


ภูมิปัญญาการทำข้าวแคบ

 ความสำคัญของภูมิปัญญา    


"ข้าวแคบ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..  2542  ได้ให้ความหมายไว้ว่า
คือ "ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือที่เข้าใจกันดี แต่คนท้องถิ่นอื่นอาจไม่คุ้นเคยว่า ข้าวแคบ คืออะไร แต่เมื่ออธิบายต่อไปว่าคือ ข้าวเกรียบธรรมดา เป็นของกินชนิดหนึ่งที่ทำด้วย หรือข้าวเหนียว เป็นแผ่นตากให้แห้ง

วิธีทำ / ส่วนผสม
            1. น้ำ                           1  ลิตร
            2. เกลือป่น                     1  ช้อนชา   
            3. งาดำ                          1  ถ้วยตวง        
            4. แป้งข้าวจ้าว    100   กรัม
            5.แป้งข้าวเหนียวก.ก.
  ขั้นตอนการทำ
           1 . นำแป้งข้าวเหนียว , แป้งข้าวจ้าว ผสม เกลือ, คลุกให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำลงไปผสมให้เข้ากัน
            2. นำมากรองในกระชอนเพื่อไม่ให้แป้งติดกันเป็นก้อน แล้วโรยงาดำลงไป
            3. ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดโดยใช้ผ้ากลึงไว้ด้านบน จากนั้นตักส่วนผสมใส่บนผ้าที่กลึงไว้ซึ่งจะตักใส่ ประมาณ 1 ทัพพี แล้วเกลี่ยให้เป็นรูปวงกลมให้ทั่วแผ่น
          4. จากนั้นรอให้สุก (สังเกตโดยแป้งจะออกสีใสๆ และบริเวณขอบรอบๆจะโก่งขึ้นมา) ก็ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นแผ่นบางๆ ตักเอาแผ่นแป้งออก แล้วนำมาวางบน คา  ( หญ้าคาตากแห้งที่เอามาไพ หรือ ถัก ใช้สำหรับมุงหลังคา )  ที่เตรียมไว้จนเต็มก่อนนำไปตากแดด
            5 . เมื่อตากแดดจนแห้งก็นำมาเก็บใส่ถุงไว้ เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำมาทอดหรือย่างไฟอ่อนๆได้เลย  การย่าง หรือ การฮิงข้าวแคบ คือการนำเอาข้าวแคบไปปิ้งหรือย่างไฟ  ส่วน การทอด ภาษาท้องถิ่นมักเรียกว่า    การจืนข้าวแคบ ก็จะได้ข้าวแคบที่มีรสชาติแตกต่างกันไป
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
                    ข้าวแคบ เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้ เป็นอาหารว่างที่มีราคาไม่แพง และปลอดสารพิษ ทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน 
           

ภูมิปัญญาการทำข้าวหลาม


ข้าวหลาม
ความเป็นมา / ความสำคัญ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.2542  ได้ให้ความหมายไว้ว่า
ข้าวหลาม  คือ ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเผาให้สุก โดยใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำจนอ่อนตัวดีแล้ว กรอกใส่กระบอก ไม้ไผ่ที่ตัดไว้ แล้วกรอกน้ำกะทิผสมเกลือ จนท่วมข้าวเหนียวพอประมาณ อุดปากกระบอก ให้แน่นด้วยใบตองห่อกาบมะพร้าว นำไปหลามจนสุก


วิธีการทำข้าวหลาม
ส่วนผสมที่สำคัญ
            1.  ข้าวเหนียว   10  ถ้วยตวง
            2. กะทิ  4   ถ้วยตวง
            3.  เกลือ   1  ช้อนโต๊ะ
            4. น้ำตาลทราย    1   ถ้วยตวง
            5. ถั่วดำ  1 / 2  ถ้วยตวง
            6. กระบอกไม้ไผ่
            7. กาบมะพร้าวทุบ ห่อด้วยใบตองแห้งหรือสด (ทำจุกอุดปากกระบอก)
 การตัดกระบอกไม้ไผ่
             ตัดกระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 32-34 เซนติเมตร  ส่วนความกว้างขึ้นอยู่กับกระบอกไม้ไผ่ตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน โดยส่วนปลายจะได้กระบอกเล็กและไล่ลงมาจนถึงส่วนโคนกระบอกจะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อตัดกระบอกไม้ไผ่ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว นำไม้หุ้มฟองน้ำล้วงเอาเศษผงและฝุ่นละอองออกให้หมด
ขั้นตอนการทำ
            1. นำข้าวเหนียวมาล้างน้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณ  1 คืน แล้วพักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ขณะเดียวกัน นำเมล็ดถั่วดำมาล้างแล้วต้มจนเปื่อยได้ที่ นำมาคลุกให้เข้ากันกับข้าวเหนียวที่เตรียมไว้
            2. นำน้ำกะทิสดที่คั้นไว้มาผสมกับน้ำตาล และเติมเกลือลงไป คนให้เข้ากัน น้ำกะทิควรมีรสเค็มเล็กน้อย
           
3. นำข้าวเหนียวที่คลุกกับถั่วดำ กรอกลงไปในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้
            4. นำน้ำกะทิที่ปรุงไว้มากรอกใส่ทีละกระบอก โดยกะปริมาณให้น้ำกะทิท่วมข้าวเหนียวในกระบอก (เว้นส่วนปากกระบอกไว้ประมาณ 1 ใน 4 ของความสูงของข้อกระบอกที่จะใส่ข้าวเหนียวเพื่อเผื่อพื้นที่ไว้ใส่จุก)
            5. เมื่อกรอกครบแล้ว ให้รีบใส่จุกทันที แล้วนำไปวางพาดเรียงกัน ให้กระบอกอยู่ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อไม่ให้กะทิหก 


ประวัติเจียงก๋าง

ประวัติความเป็นมา


             อำเภอเชียงกลางแต่เดิมเรียกว่า เมืองเจียงก๋างตามภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ คำว่า เจียงมีความหมายตรงกับคำว่า เชียงซึ่งมีความหมายว่า เมืองส่วนคำว่า ก๋างตรงกับคำว่า กลาง”      นั่นเอง เป็นสำเนียงของคนเมือง (ภาคเหนือตอนบน)   และที่ได้ชื่อว่า เชียงกลางนั้น ตามความบอกเล่าจากภิกษุสงฆ์อาวุโส ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรผู้เฒ่าผู้แก่ สรุปความได้ว่า เดิมทีจังหวัดน่านมีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอปัว เรียกว่า วรนครและมีเมืองน้อยใหญ่   ในส่วนเหนือของ วรนคร คือ เมืองเปือ  เมืองและ  เมืองงอบ และเมืองปอน ซึ่งสมัยนั้นข้าศึกศัตรูที่มักยกกำลังมาย่ำยี คือ เงี้ยวหรือไทยใหญ่ หัวเมืองฝ่ายเหนือของ วรนครก็ได้แตกร่นถอยลงมาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากน้ำกอนที่มาบรรจบกับแม่น้ำน่าน เรียกว่า สบกอนซึ่งบริเวณที่ตั้งของเมืองที่แตกทัพถอยร่นมาตั้งมั่นอยู่ คือ ตรงกลางระหว่างอำเภอทุ่งช้าง และอำเภอปัว    ดังนั้น จึงเป็นที่มาของเมือง เจียงก๋างหรือ เชียงกลางในปัจจุบัน 
อำเภอเชียงกลางได้แยกจากอำเภอทุ่งช้างมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2511 และตั้งเป็นอำเภอเชียงกลางเมื่อปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันอำเภอเชียงกลางแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเปือ ตำบลพระธาตุ ตำบลเชียงกลาง ตำบลพญาแก้ว ตำบลเชียงคาน และตำบล   พระพุทธบาท


1 มี.ค. 2558

ภูมิปัญญาการทำข้าวควบ



ความเป็นมา / ความสำคัญของภูมิปัญญา
 “ ข้าวควบ  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ..  2542ได้ให้ความหมายไว้ว่า   ข้าวเกรียบใส่น้ำตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว ข้าวควบ เป็นอาหารว่างที่นิยมรับประทานกันมาก ลักษณะคล้ายขนมทองม้วน รสหวานกรอบ แต่พองและแผ่นใหญ่กว่า
ส่วนประกอบ / เครื่องปรุ่ง
1. ข้าวเหนียว               2        ลิตร      
2. น้ำอ้อย               300    กรัม                     
3. น้ำตาลปิ๊ป              500    กรัม                                           
4.ใบตอง
5. ไข่                    3   ฟอง
6. ไม้กลม
7. น้ำมัน
8.  น้ำ

อุปกรณ์
                ครกมอง (ครกกระเดื่อง) ไม้กลมนวดแป้ง หญ้าคาที่เป็นตับ ไม้ไผ่มือเสือ ตะกร้าสานใบใหญ่ แผ่นไม้กระดานนวดแป้ง
วิธีทำ 
1. นำข้าวเหนียวแช่น้ำ ไว้ประมาณ 6 – 10 ชั่วโมง แล้วนำมานึ่งให้สุก
 2.นำไปตำในมอง (ครกกระเดื่อง) ให้เมล็ดข้าวแตกละเอียด จนมีลักษณะเหมือนแป้งขนมเทียนสุก
3.  ผสมไข่ น้ำอ้อย น้ำตาลปิ๊บ  ลงตำในครก  ระหว่างที่ตำแป้งให้ใช้มือคนในครกแป้ง และผสมน้ำลงไปพอประมาณ เพื่อให้แป้งเหนียว จนได้ที่แล้วปั้นเป็นก้อน ขนานเท่าลูกมะนาว

4.  ใช้น้ำมันหมูทาแผ่นไม้กระดาน หรือใบตอง ( อาจใช้พลาสติกแทนได้ )ใช้ไม้กลมคลึงก้อนแป้งให้เป็นแผ่นบาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 - 8 นิ้ว ใช้ไข่ขาวทาแผ่นแป้งทั้ง 2 หน้า
5.  นำวางบนหญ้าคาที่เตรียมไว้ ตากแดดหรือลมให้แห้ง ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ในระหว่างที่ตากแผ่นแป้งให้พลิกเพื่อกลับด้าน แล้วเก็บเรียงซ้อนกัน
6.  นำไปผิงไฟโดยวางลงบนไม้ไผ่มือเสือ ใช้ไฟอ่อน ข้าวควบจะพองขยายใหญ่ ผิงไฟให้เหลือง นำใส่ในตะกร้าไม้ไผ่สานที่เตรียมไว้ ควรรองด้วยผ้าพลาสติกแผ่นใหญ่คลุมกันถูกลม หรืออาจนำไปทอดกับน้ำมันร้อน เพื่อนำมารับประทาน หรือเป็นของว่าง

ประโยชน์ของภูมิปัญญา
          ข้าวควบ ยังมีอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอำเภอเชียงกลาง เป็นอาหารว่างที่มีราคาไม่แพง และปลอดจากสารพิษ เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน


แหล่งเรียนรู้วัดหนองแดง

ประวัติวัดหนองแดง

ความสำคัญ / ความเป็นมา
วัดหนองแดง  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2330 โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน มีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2365 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และแสดงของเขตเล่มที่ 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม 2524 สร้างก่อนได้รับอนุญาตให้สร้างมาแล้วหลายปี นามเจ้าอาวาสผู้สร้างได้แก่ พระธรรมวงศ์ ครูบานาย ครูบาอาณา และผู้ก่อสร้างพระประธานองค์ปัจจุบัน คือ ครูบาสิทธิการ อันเป็นที่มาของต้นตระกูล นามสกุล สุทธการของชาวบ้านหนองแดงปัจจุบัน
พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่น ช่อฟ้าพระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (เป็นนกในวรรณคดีมีจะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง) ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุลายน้ำหยาด ซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐานบนฐานชุกชีเรียกว่า นาคบัลลังก์ จากความเชื่อที่ว่านาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และเป็นอารักษ์แห่งพระพุทธศาสนา


ประวัติห้องสมุดประชาชน

    ประวัติห้องสมุดประชาชน







ห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง ตั้งอยู่ถนนอดุลย์เดชจรัส หมู่ ๑๑  ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง  จังหวัดน่าน  เดิมเป็นอาคารชั้นเดียวทรงไทย สร้างด้วยเงินบริจาคของคณะพ่อค้าประชาชน และข้าราชการ เป็นเงินจำนวน  ๒๑๗,๖๑๗ บาท ( สองแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยสิบเจ็ดบาท ) สร้างเมื่อ พ.. ๒๕๑๙  โดยการนำของเรือตรีนิวรรต์   พะโยเยี่ยม นายอำเภอเชียงกลาง และนายเสน่ห์   ครุฑเมือง ศึกษาธิการอำเภอเชียงกลาง ห้องสมุดเริ่มเปิดให้บริการ พ.. 2521  มีอายุการใช้งานนาน ๓๘ ปี

          ต่อมาปีงบประมาณ ๒๕๕๙ สำนักงาน กศน.ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน ๒,๓๕๗,๒๐๐ บาท  (สองล้านสามแสนห้าหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) สร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง เป็นอาคาร ๒ ชั้น ทรงมะลิลา สร้างบนที่ราชพัสดุ  แปลงหมายเลขทะเบียนที่ นน. ๖๐๒ ทำพิธียกเสาเอกอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเชียงกลาง ในวันเสาร์ ที่  ๒๐  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๙  พิธีเปิดป้ายอาคาร เมื่อวันที่  ๒  เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ “วันรักการอ่าน” มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ในรูปแบบผ้าป่าสามัคคี “คนเจียงก๋าง  ฮักการอ่าน” โดย นักศึกษา-ศิษย์เก่า กศน. ,ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอเชียงกลาง และ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอเชียงกลาง ได้รับเงิน จำนวน ๑๙๓,๑๔๘ บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นสามพันหนึ่งร้อยสี่สิบแปดบาทถ้วน) และสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ เป็นเงินจำนวน ๘๓,๔๒๘ บาท (แปดหมื่นสามพันสี่ร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน)

           ห้องสมุดอำเภอเชียงกลาง สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเชียงกลาง  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวง   กระทรวงศึกษาธิการ